ที่มาและอำนาจหน้าที่
ขององค์กร

          มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย ทั้งของนักศึกษา บุคลากร ผู้มาปฏิบัติงาน และผู้มารับบริการทุกคน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย และชุมชนโดยรอบ จึงวางแนวทางที่จะพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของมหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดตั้งโครงการจัดตั้งศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (COSHEM) เพื่อเป็นหน่วยงานกลาง มีหน้าที่รับผิดชอบดูแล ควบคุม ติดตาม ประเมินผล และให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการบดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 สภามหาวิทยาลัยมหิดล มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) ให้เป็น 1 ใน 21 ส่วนงานภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดี (การประชุมคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 3/2561 ในวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา) ซึ่งกำหนดให้ศูนย์ฯ มีพันธกิจหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัย ด้านการศึกษา งานวิจัย บริการวิชาการ และการบริหารจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ภายใต้การกำกับดูแลโดยรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งแบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น 2 งาน ได้แก่ งานบริหารและพัฒนาระบบฐานข้อมูล และงานส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัย และมีผลิตภัณฑ์และบริการหลัก 3 ประเภท คือ การยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานให้สอดคล้องตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการบริการวิชาการด้านความปลอดภัยฯ ซึ่งสอดคล้องตาม พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 มาตรา 8 มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ทำการวิจัย รวมตลอดทั้งส่งเสริม และสนับสนุนให้ทำการวิจัย เพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้ โดยกระทำอย่างต่อเนื่อง และนำความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศและสังคมและก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย รวมถึงการให้บริการวิชาการ ให้เป็นที่ยอมรับในประเทศ




วัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture)

          Safety We CAREs ซึ่งมีความหมายดังนี้

 

C     : Caring everyone as Mahidol family.           ห่วงใยเสมือนทุกคนเป็นครอบครัวมหิดล

 

A     : Awareness of safety in all activities.          ตระหนักถึงความปลอดภัยในทุกกิจกรรมมหิดล

 

R     : Remind friends of unsafe condition.          เพื่อนเตือนเพื่อน เมื่อไม่ปลอดภัย

 

E     : Everyone is safety and healthy everyday.   ทุกคนปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี

 

S     : Safety culture as a part of life.                  วัฒนธรรมความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต