เครื่องมือสุขศาสตร์อุตสาหกรรม

 

เครื่องตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง
(Lux meter)

  • ตรวจวัดค่าเฉลี่ยความเข้มแสงสว่างบริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการทุก ๆ 2x2 ตารางเมตร
  • ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างบริเวณที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน
  • การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ต้องใช้เครื่องวัดแสง (Light Meter) มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน CIE 1931 (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527 หรือเทียบเท่า เช่น JIS และก่อนเริ่มการตรวจวัดต้องปรับให้เครื่องวัดแสงอ่านค่าที่ ศูนย์ (0)
  • เปรียบเทียบผลการตรวจวัดกับเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด, มาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

เครื่องวัดเสียงและวิเคราะห์ความถี่เสียง
(Sound Level Meter & Analyzer)

  • ตรวจวัดเพื่อประเมินระดับเสียงที่อาจมีผลกระทบต่อระบบการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อให้ทราบประเภทและลักษณะของเสียงใช้ประโยชน์ในการควบคุมป้องกันเสียง เครื่องตรวจวัดระดับเสียงมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 651 Type 2 หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S1.4, BS EN 60651, AS/NZS 1259.1 เป็นต้น หรือดีกว่า เช่น IEC 60804, IEC 61672, BS EN 60804, AS/NZS 1259.2 เป็นต้น
  • ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA: Time WeightedAverage) ตรวจวัดระดับเสียงประเภทเสียงดังต่อเนื่องแบบไม่คงที่ (Non-steady Stat Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่อง ที่มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 10 dB(A) และเสียงดังเป็นช่วง ๆ (Intermittent Noise)
  • ปริมาณเสียงสะสมที่ตัวบุคคล (Noise Dose) เพื่อประเมินเป็นระดับเสียงที่สัมผัสเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA: Time Weighted Average) เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter) มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐานIEC 61252 หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S1.25 หรือดีกว่า
  • เสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impulse or Impact Noise) เพื่อประเมิน การสัมผัสกับระดับเสียงกระทบหรือกระแทกที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นและอันตรายจะเกิดขึ้นกับระบบการได้ยิน ขึ้นกับระดับเสียงและจำนวนครั้งที่สัมผัส ตรวจวัดด้วยเครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก (Impulse or Impact Noise Meter) มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 60804 หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S1.43 หรือดีกว่า

เครื่องวัดปริมาณสารประกอบอินทรีย์ระเหย
(VOC Detector)

  • ตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของไอระเหยอินทรีย์ทั้งหมด (TVOC)
  • การประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามข้อเสนอแนะของสถาบัน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ASHRAE, SINGAPORE STANDARD Code of practice for indoor air quality for air-conditioned buildings เป็นต้น

เครื่องวัดความเร็วลมแบบ Pitot Tube
(Pitot Tube Anemometer)

  • เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการตรวจวัดความเร็วลม (VELOCITY), อุณหภูมิ (TEMPERATURE), ความชื้นสัมพัทธ์ (RELATIVE HUMIDITY) และแรงดันอากาศ (PRESSURE)
  • สามารถตรวจวัดความเร็วลมในท่อ เช่น ช่องระบายอากาศของเครื่องปรับอากาศ เพื่อนำค่ามาคำนวณอัตราการไหลของอากาศที่เข้ามาภายในห้อง

เครื่องมือตรวจวัดแก๊ส (Gas detector)
4 Gas-detector

  • เป็นเครื่องตรวจจับก๊าซแบบพกพา ให้การป้องกันที่ยอดเยี่ยมในการใช้งานพื้นที่จำกัด ด้วยการเตือนด้วยเสียงและภาพ กรณีที่เกิดแก๊สไวไฟหรือเป็นพิษ
  • สามารถวัดแก๊สได้ 4 ชนิด คือ มีเทน ออกซิเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์และก๊าซไวไฟอื่น ๆ

เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality Meter : IAQ)

  • คุณภาพอากาศภายในอาคารเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย หรือทำให้เกิดการเจ็บป่วยของผู้ใช้อาคารจำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยมีพารามิเตอร์หลายตัวที่สามารถใช้ศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร ได้แก่
    1. อุณหภูมิ, ความชื้นสัมพัทธ์, ความเร็วลม
    2. ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
    3. ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
    4. ปริมาณความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)
    5. ปริมาณความเข้มข้นของไอระเหยอินทรีย์ทั้งหมด (TVOC)
    6. ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5), 10 ไมครอน (PM10)
    7. ปริมาณแบคทีเรียรวมในอากาศ
    8. ปริมาณเชื้อรารวมในอากาศ
  • การประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามข้อเสนอแนะของสถาบัน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ASHRAE, SINGAPORE STANDARD Code of practice for indoor air quality for air-conditioned buildings เป็นต้น
  • พารามิเตอร์พิเศษเฉพาะพื้นที่ ได้แก่
    1. ปริมาณความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)
    2. ปริมาณความเข้มข้นของโอโซน (O3)
    3. ปริมาณไรฝุ่น (สารก่อภูมิแพ้)
    4. อื่น ๆ

  • เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบพกพา (Personal Sampling Pump)

    • ปั๊มเก็บตัวอย่างอากาศสามารถทำงานได้ตามมาตรฐาน NIOSH/OSHA/EN 1232/ISO 13137 safe/EN1232
    • ใช้ร่วมกับอุปกรณ์เก็บตัวอย่างทุกประเภท เช่น Sampling bag/Casette filter/cyclone/Impinger/Tube เป็นต้น

    เครื่องนับจำนวนอนุภาคในห้องสะอาด (Portable Particle Counter)

    • เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจนับจำนวนอนุภาคในห้องสะอาด (Clean Room) สามารถนับอนุภาคในช่วง 0.3 ถึง 25 ไมครอน

    เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ (Alcohol Breath Tester)

    • ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดผ่านลมหายใจ การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทำให้โมเลกุลของแอลกอฮอล์ซึมเข้าไปยังเส้นเลือดตามร่างกายรวมถึงปอด ทำให้แอลกอฮอล์ที่ถูกระเหยภายในช่องปอดถูกปล่อยออกมาจากลมหายใจและสามารถทำการตรวจวัดด้วยเครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ได้
    • หน่วยของการวัดปริมาณแอลกอฮอล์คือ มิลลิกรัม/100 มล. (Mg% หรือ Mg/100Ml)

    เครื่องวัดและทดสอบระบบระบายอากาศในอาคาร (ACCUBALANCE AIR CAPTURE HOOD 8380) พร้อมชุดอุปกรณ์หัววัด

    • เป็นเครื่องตรวจจับก๊าซแบบพกพา ให้การป้องกันที่ยอดเยี่ยมในการใช้งานพื้นที่จำกัด ด้วยการเตือนด้วยเสียงและภาพ กรณีที่เกิดแก๊สไวไฟหรือเป็นพิษ
    1. ต่อกับ Capture Hood สำหรับวัดอัตราการไหล
    2. ต่อกับ Matrix Probe สำหรับวัดความเร็วลม
    3. ใช้วัดความดันแตกต่าง (Differential Pressure) ได้
    4. ต่อกับ Pitot Tube วัดความเร็วลมในท่อได้
    5. คำนวณ Flow rate ได้
    6. วัด Static Pressure/ วัด อุณหภูมิ ความชื้นได้