Sustainable Development Goals : SDGs
ปี 2565
โครงการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ประจำปี 2565
หลักการและเหตุผล
  มหาวิทยาลัยดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายด้านการจัดการความปลอดภัย ในห้องปฏิบัติการวิจัย ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยเกิดความตระหนักเรื่องความปลอดภัย การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัยอย่างต่อเนื่องโดยสร้างระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ให้มีระบบการตรวจติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL เป็นแนวทางการพัฒนายกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีองค์ประกอบด้านความปลอดภัย 7 ด้าน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ส่วนงานมีห้องปฏิบัติการที่มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย และสอดคล้องตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี (ESPReL)
  2.เพื่อเพิ่มจำนวนห้องปฏิบัติการที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย (ESPReL) ภายในมหาวิทยาลัย
สรุปผลการดำเนินงาน (Output)
  จากการดำเนินงาน โครงการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ประจำปี 2565 มีห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2565 จำนวน 595 ห้องปฏิบัติการ ได้รับการรับรองผ่านมาตรฐาน จำนวน 397 ห้องปฏิบัติการ (100%) โดยมีรายละเอียดดังตาราง
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)
  การดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้พัฒนาและยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ สู่ห้องปฏิบัติการที่ผ่านการตรวจประเมินและรับรอง ตามมาตรฐานความปลอดภัย ESPReL จำนวน 397 ห้องปฏิบัติการ (ร้อยละ 66.72 จากห้องปฏิบัติการทั้งหมด 595 ห้อง) ซึ่งมาจาก 19 ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย จากการดำเนินงานนี้มหาวิทยาลัยสามารถขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องตามมาตรฐานระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย และลดการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน สอดคล้องตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)
ปี 2564
โครงการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ประจำปี 2564
หลักการและเหตุผล
  มหาวิทยาลัยดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายด้านการจัดการความปลอดภัย ในห้องปฏิบัติการวิจัย ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยเกิดความตระหนักเรื่องความปลอดภัย การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัยอย่างต่อเนื่องโดยสร้างระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ให้มีระบบการตรวจติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL เป็นแนวทางการพัฒนายกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีองค์ประกอบด้านความปลอดภัย 7 ด้าน
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ส่วนงานมีห้องปฏิบัติการที่มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย และสอดคล้องตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี (ESPReL)
  2.เพื่อเพิ่มจำนวนห้องปฏิบัติการที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย (ESPReL) ภายในมหาวิทยาลัย
สรุปผลการดำเนินงาน (Output)
  จากการดำเนินงาน โครงการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ประจำปี 2564 มีห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2563 จำนวน 121 ห้องปฏิบัติการ ได้รับการรับรองผ่านมาตรฐาน จำนวน 121 ห้องปฏิบัติการ (100%) โดยมีรายละเอียดดังตาราง
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)
  การดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้พัฒนาและยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ สู่ห้องปฏิบัติการที่ผ่านการตรวจประเมินและรับรอง ตามมาตรฐานความปลอดภัย ESPReL จำนวน 293 ห้องปฏิบัติการ (ร้อยละ 45.50จากห้องปฏิบัติการทั้งหมด 644 ห้อง) ซึ่งมาจาก 19 ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย จากการดำเนินงานนี้มหาวิทยาลัยสามารถขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องตามมาตรฐานระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย และลดการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน สอดคล้องตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)
โครงการสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564
ที่มาและความสำคัญ
  มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เพื่อความปลอดภัยของนักศึกษา บุคลากร ผู้มาปฏิบัติงาน ผู้รับบริการทุกคน และสนับสนุนให้ทุกส่วนงานดำเนินการให้มีความสอดคล้องตามกฎหมาย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้ผลักดันให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ ภายในส่วนงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
  ในปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้าร่วมกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย และสุขภาพอนามัยดี” ประจำปี 2559 โดยได้รับโล่รางวัลดีเด่นจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 29 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 คณะกรรมการเครือข่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีความพร้อมและประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมประกวดสถานศึกษาปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับโล่รางวัลดีเด่นจำนวน 5 ส่วนงาน ได้แก่ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันโภชนาการ วิทยาลัยนานาชาติ และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ในปี พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัลดีเด่น 8 ส่วนงาน ได้แก่ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันโภชนาการ วิทยาลัยนานาชาติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (พญาไท) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะทันตแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัลดีเด่น 11 ส่วนงาน ได้แก่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันโภชนาการ วิทยาลัยนานาชาติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (พญาไท) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และในปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัลดีเด่น 13 ส่วนงาน ได้แก่ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันโภชนาการ วิทยาลัยนานาชาติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (พญาไท) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะศิลปะศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และคณะสาธารณสุขศาสตร์
  จากการดำเนินการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวที่ผ่านมา ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเห็นศักยภาพของส่วนงานในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจึงสนับสนุนให้ส่วนงานเข้าร่วมทำให้ส่วนงานให้ความสนใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้นในทุกปี เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยฯ พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ ภายในส่วนงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ส่วนงานตระหนักถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายในส่วนงาน และพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ ภายในส่วนงานให้สอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐาน
  2. เพื่อให้ส่วนงานมีแรงบันดาลใจ และรณรงค์ให้เกิดความปลอดภัยภายในส่วนงานมากยิ่งขึ้น
  3. เพื่อให้ส่วนงานที่มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในส่วนงานมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมโดยการได้รับรางวัลดีเด่นจากกิจกรรมดังกล่าว
สรุปผลการดำเนินงาน (Output)
  1. ระยะเวลาดำเนินการ: มกราคม – กันยายน พ.ศ. 2564
  2. จำนวนส่วนงานที่เข้าร่วม: 19 ส่วนงาน
  3. รางวัลที่ได้รับหลังการตรวจประเมินจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน: รางวัลดีเด่น จำนวน 19 ส่วนงาน
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)
  1. เพื่อสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดขึ้นภายในส่วนงานให้เห็นเป็นรูปธรรม
  2. เพื่อให้ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดลเกิดเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และภาพแวดล้อมในการทำงานภายในส่วนงานของตนอย่างมีประสิทธิภาพ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างส่วนงาน
  3. เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานศึกษา อันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดลที่เข้าร่วมว่ามีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีในระดับประเทศ
โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”
ปีงบประมาณ 2564
ที่มาและความสำคัญ
  ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และประกาศนโยบายการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. 2563 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยครอบคลุมทุกมิติแก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก รวมถึงมีการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้านความเป็นเลิศในงานวิจัย โดยการนำองค์ความรู้ นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการวิจัย การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับบทบาทของงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรค พิษจากสัตว์ และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีข้อกำหนด ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับดูแลและควบคุมการดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพมหาวิทยาลัยมหิดล (MU-IBC) ขึ้น โดยมีบทบาทหลักในการวางระบบและมาตรการตรวจสอบ ควบคุมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) รวมถึงกำกับดูแลให้ทุกส่วนงานดำเนินการภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
  ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) จึงได้จัดทำหลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ” โดยมีองค์ประกอบเนื้อหาหลักสูตรอบรมครอบคลุมตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องการรับรองหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหลักสูตรอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการปฏิบัติงานและเพื่อให้ผู้มีหน้าที่ดำเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยตามหลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยสอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
สรุปผลการดำเนินงาน (Output)
  - ดำเนินการอบรมในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม 2564 โดยจัดอบรมในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Webex
  - จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม: 167 คน
  - จำนวนผู้สอบผ่าน: 167 คน (ร้อยละ 100) โดยกำหนดเกณฑ์การสอบผ่านที่ร้อยละ 80
  - ประเภทผู้เข้าร่วมอบรม: อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย และนักศึกษา
  - ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ: มากที่สุด (4.62)
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)
  มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพสอดคล้องตามประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และประกาศนโยบายการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. 2563 ซึ่งจากการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมหลักสูตร“ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ” ส่งผลให้หน่วยงานมีการพัฒนาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรค พิษจากสัตว์ และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ สามารถดำเนินการภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งผู้มีหน้าที่ดำเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยตามหลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)
ปี 2563
โครงการอบรมผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐาน ESPReL ปีงบประมาณ 2563
หลักการและเหตุผล
  มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับนโยบายการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 โดยมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL) ร่วมกับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยเกิดความตระหนักเรื่องความปลอดภัยการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับที่เอื้อให้เกิดการพัฒนางานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัยอย่างต่อเนื่องจากการดำเนินงานดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลมีห้องปฏิบัติการต้นแบบที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยระบบ ESPReL จำนวน 52 ห้องปฏิบัติการ
  เพื่อให้การดำเนินงานยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นไปอย่างต่อเนื่องและทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องมีห้องปฏิบัติการที่สอดคล้องตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยอีกทั้งส่งเสริมให้เกิดกลไกการพัฒนาด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบมีการตรวจติดตามผลการดำเนินงานซึ่งสอดคล้องข้อตกลงการปฏิบัติงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับส่วนงานและเกิดการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มห้องปฏิบัติการปลอดภัย ในการนี้ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) จึงจัดทำโครงการอบรมผู้ตรวจประเมินตามตามมาตรฐาน ESPReL ครั้งที่ 2/2563 เพื่อพัฒนาบุคลากรมุ่งสู่การเป็นผู้ตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัยตามมาตรฐาน ESPReL ตลอดจนยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องตามระบบการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กำหนดซึ่งจะเชื่อมโยงกับการขอรับทุนวิจัยจากวช. ในระยะเวลาอันใกล้นี้
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อจัดทำระบบการตรวจประเมินและรับรองภายในห้องปฏิบัติการปลอดภัย
  2.เพื่อสร้างผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐาน ESPReL
  3.เพื่อยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องตามเกณฑ์ ESPReL
สรุปผลการดำเนินงาน (Output)
  1. วันที่ดำเนินการ: 3-5 พฤศจิกายน 2563
  2. สถานที่: ห้องเอนกประสงค์ 411 ชั้น 4 อาคารศูนย์การเรียนรู้
  3. จำนวนผู้ผ่านการอบรม: 30 คน
  4. ประเภทของผู้เข้าร่วมอบรม: อาจารย์(15 คน) บุคลากรสายสนับสนุน(29 คน) นักวิจัย(6 คน)
  5. ความถนัดตามองค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน
    - องค์ประกอบ 1 การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย: 19 คน
    - องค์ประกอบ 2 การจัดการสารเคมี: 13 คน
    - องค์ประกอบ 3 การจัดการของเสียสารเคมี: 15 คน
    - องค์ประกอบ 4 ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ: 13 คน
    - องค์ประกอบ 5 ระบบป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย: 15 คน
    - องค์ประกอบ 6 การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ: 14 คน
    - องค์ประกอบ 7 การจัดการข้อมูลเอกสาร: 14 คน
  6. ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ: มากที่สุด (4.78)
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)
  มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างครบวงจร (PDCA)โดยมีระบบการตรวจติดตามผลการดำเนินงานยกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้กำหนดให้ผู้ตรวจประเมินฯทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบสภาพความปลอดภัย และติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ในการดำเนินการตรวจประเมิน ผู้ตรวจประเมินจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในการตรวจประเมินตามมาตรฐาน ESPReL เพื่อให้ข้อเสนอแนะให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ลดการตายและป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากการปนเปื้อนและมลพิษต่าง ๆ รวมถึงการลดการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ซึ่งสอดคล้องตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)
โครงการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
หลักการและเหตุผล
  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับนโยบายด้านการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 โดยมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL) ร่วมกับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยเกิดความตระหนักเรื่องความปลอดภัย การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับที่เอื้อให้เกิดการพัฒนางานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ส่วนงานมีห้องปฏิบัติการที่มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย และสอดคล้องตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี (ESPReL)
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนห้องปฏิบัติการที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย (ESPReL) ภายในมหาวิทยาลัย
สรุปผลการดำเนินงาน (Output)
  จากการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ซึ่งผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยระบบ ESPReL จำนวน 169 ห้องปฏิบัติการ จาก 18 ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)
  มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างครบวงจร (PDCA) โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้สอดคล้องตามเกณฑ์ ESPReL เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยเกิดความตระหนักเรื่องความปลอดภัย การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับที่เอื้อให้เกิดการพัฒนางานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้มีระบบการตรวจติดตามผลการดำเนินงานยกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ซึ่งผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยระบบ ESPReL จำนวน 169 ห้องปฏิบัติการ จากการดำเนินงานนี้มหาวิทยาลัยสามารถขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องตามมาตรฐานระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน สอดคล้องตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)
โครงการพัฒนาศักยภาพหัวหน้าผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัย ตามมาตรฐาน ESPReL ปีงบประมาณ 2563
หลักการและเหตุผล
  การพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัยตามมาตรฐาน ESPReL เป็นปัจจัย ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดกลไกการพัฒนางานด้านความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงกัน ระหว่างกลุ่มห้องปฏิบัติการปลอดภัย รวมถึงยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย โดยบทบาทของหัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัยตามมาตรฐาน ESPReL เป็นบทบาทหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากมีลักษณะบทบาทที่ต้องเป็นผู้นํา สามารถจัดการให้คณะผู้ตรวจประเมินทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการกับข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างการตรวจประเมิน รวมทั้งตัดสินใจเกี่ยวกับข้อขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างการตรวจ ซึ่งทักษะการสื่อสารนั้น เป็นทักษะที่เอื้ออำนวยให้การตรวจประเมินเกิดความน่าเชื่อถือ เกิดการยอมรับ และทำให้เกิดมิตรภาพระหว่างคณะผู้ตรวจประเมินกับหน่วยงานที่รับการตรวจประเมินได้
  ในการนี้ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพหัวหน้าผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัยตามมาตรฐาน ESPReL เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของหัวหน้าผู้ตรวจประเมินด้านการสื่อสารในกระบวนการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ซึ่งการมีทักษะและความสามารถในการสื่อสารและการประสานงานที่ดีจะสามารถช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานในการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้หัวหน้าผู้ตรวจประเมินมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการในการสื่อสารและการประสานงาน
  2.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารในกระบวนการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการของหัวหน้าผู้ตรวจประเมิน
สรุปผลการดำเนินงาน (Output)
  1. วันที่ดำเนินการ: 17 ธันวาคม 2563
  2. สถานที่: ห้อง SHE Training room ชั้น 1 ศูนย์ COSHEM
  3. จำนวนผู้ผ่านการอบรม: 22 คน
  4. ประเภทของผู้เข้าร่วมอบรม: อาจารย์ (11 คน) บุคลากรสายสนับสนุน (7 คน) นักวิจัย (4 คน)
  5. ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ: มากที่สุด (5.00)
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)
  มหาวิทยาลัยมหิดลมีระบบตรวจประเมินภายในด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย ซึ่งกลไกลการตรวจประเมินด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีผู้ตรวจประเมินที่มีความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การตรวจประเมินตามมาตรฐาน ESPReL เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้ตรวจประเมิน อีกทั้งต้องมีทักษะในการสือสารที่ดี ทั้งในระหว่างการตรวจประเมิน และการประชุมสรุปผลการตรวจประเมิน เพื่อให้ผู้รับการตรวจประเมินเข้าใจถึงวัตถุประสงค์หลักในการตรวจประเมิน ซึ่งข้อเสนอแนะจากการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการจะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ลดการตายและป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากการปนเปื้อนและมลพิษต่าง ๆ รวมถึงการลดการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ซึ่งสอดคล้องตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)
โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้รับจ้าง ปีงบประมาณ 2562-2563
หลักการและเหตุผล
  ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้รับจ้าง พ.ศ. 2562 หมวดที่ 3 การฝึกอบรม ข้อ 19 ให้ผู้รับจ้าง จัดให้ลูกจ้างทุกคน เข้ารับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้รับจ้าง ตามหลักสูตรของศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ก่อนเริ่มปฏิบัติงานภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้รับจ้างในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและปลอดภัย
  ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบริการหลักในการเสริมสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงได้ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตร “ความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้รับจ้าง” ภายใต้ โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้รับจ้าง ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 เพื่อฝึกอบรมให้ลูกจ้างได้รับความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันอุบัติเหตุและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย สอดคล้องตามประกาศมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งการดำเนินการโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 16 กันยายน 2563 นี้
  ทั้งนี้ ศูนย์ COSHEM จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้รับจ้าง ครั้งที่ 2 ประจำปี 2563 ขึ้น เพื่อรองรับการดำเนินการฝึกอบรมให้เกิดความต่อเนื่อง ไม่เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานตามสัญญาจ้างของมหาวิทยาลัย และเพื่อไม่เป็นการขัดต่อประกาศมหาวิทยาลัยฉบับดังกล่าว
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อดำเนินการให้เกิดความสอดคล้องตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้รับจ้าง พ.ศ. 2562
  2. เพื่อผู้ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างได้รับความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัย
  3. เพื่อลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานภายในมหาวิทยาลัย
ประเภทผู้ผ่านการอบรมตามลักษณะงาน
ปีงบประมาณ 2562
   - พนักงานรักษาความปลอดภัย: 216 คน
   - พนักงานทำความสะอาด: 60 คน
  - พนักงานดูแลสวน: 143 คน
ปีงบประมาณ 2563
  - พนักงานรักษาความปลอดภัย: 94 คน
  - พนักงานทำความสะอาด: 175 คน
  - พนักงานดูแลสวน: 139 คน
  - พนักงานประเภทก่อสร้าง: 321 คน
  - พนักงานประเภทซ่อมบำรุงระบบ: 222 คน
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)
  มหาวิทยาลัยมหิดล มีระบบในการบริหารจัดการการดำเนินงานของผู้รับจ้าง สอดคล้องตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้รับจ้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งจากการดำเนินงานโครงการได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตร “ความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับผู้รับจ้าง” อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบันนั้น ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมหิดลมีลูกจ้างที่มีความรู้ ความเข้าใจด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความตระหนักและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของลูกจ้างที่ได้รับการอบรมเป็นศูนย์ หรือ Zero Accident จึงส่งผลให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุของมหาวิทยาลัยลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)