Sustainable Development Goals : SDGs

 

ปี 2565

โครงการบริหารจัดการของเสียสารเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2565

โครงการบริหารจัดการของเสียสารเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2565

หลักการและเหตุผล

  มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาของเสียสารเคมีจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกส่วนงานจะต้องมีการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ของผู้ปฏิบัติงาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) จึงได้สร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของเสียสารเคมีรูปแบบกลางของมหาวิทยาลัย และให้ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี ใช้บันทึกข้อมูลของเสียสารเคมี เพื่อนำฐานข้อมูลดังกล่าวใช้ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และดำเนินการส่งกำจัดให้เหมาะสม

  เพื่อให้การส่งกำจัดของเสียสารเคมีของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยฯถูกต้องตามมาตรฐาน ของกระทรวงอุตสาหกรรม และลดค่าใช้จ่ายในการส่งกำจัดของเสียสารเคมี ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการของเสียสารเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งกำจัดของเสียสารเคมีกลางของมหาวิทยาลัยมหิดล


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ส่วนงานที่เข้าร่วมโครงการมีระบบการกำจัดของเสียสารเคมีที่ถูกต้องเหมาะสมและมีมาตรฐาน

  2. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการส่งกำจัดของเสียสารเคมี สำหรับส่วนงานที่เข้าร่วมโครงการ


สรุปผลการดำเนินงาน (Output)

  1. บริษัทรับกำจัดของเสียสารเคมีเข้าดำเนินการจัดเก็บและส่งกำจัดของเสียสารเคมีทุกเดือน (ตุลาคม 2564 – กันยายน 2565)

  2. จำนวนส่วนงานที่เข้าร่วมโครงการ: 13 ส่วนงาน

  3. ปริมาณของเสียสารเคมีที่ส่งกำจัด: 17,674.10 กิโลกรัม


ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)

  มหาวิทยาลัยมหิดลมีระบบการบริหารจัดการของเสียสารเคมีซึ่งเป็นส่วนกลางของมหาวิทยาลัย โดยจัดจ้างบริษัทรีไซเคิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ในการขนส่ง และกำจัดของเสียสารเคมีภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งระบบบริหารจัดการของเสียสารเคมีของทางมหาวิทยาลัยสอดคล้องตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม และช่วยลดการปนเปื้อสารเคมีสู่สิ่งแวดล้อม สอดคล้องตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Ensure sustainable consumption and production patterns) ลดการปล่อยสารเคมีและของเสียเป็นพิษออกสู่ธรรมชาติและจัดการอย่างถูกต้อง



              


ปี 2564

โครงการบริหารจัดการของเสียสารเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564

โครงการบริหารจัดการของเสียสารเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564

หลักการและเหตุผล

  มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาของเสียสารเคมีจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกส่วนงานจะต้องมีการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ของผู้ปฏิบัติงาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) จึงได้สร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของเสียสารเคมีรูปแบบกลางของมหาวิทยาลัย และให้ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี ใช้บันทึกข้อมูลของเสียสารเคมี เพื่อนำฐานข้อมูลดังกล่าวใช้ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และดำเนินการส่งกำจัดให้เหมาะสม

  เพื่อให้การส่งกำจัดของเสียสารเคมีของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยฯถูกต้องตามมาตรฐาน ของกระทรวงอุตสาหกรรม และลดค่าใช้จ่ายในการส่งกำจัดของเสียสารเคมี ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการของเสียสารเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งกำจัดของเสียสารเคมีกลางของมหาวิทยาลัยมหิดล


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ส่วนงานที่เข้าร่วมโครงการมีระบบการกำจัดของเสียสารเคมีที่ถูกต้องเหมาะสมและมีมาตรฐาน

  2. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการส่งกำจัดของเสียสารเคมี สำหรับส่วนงานที่เข้าร่วมโครงการ


สรุปผลการดำเนินงาน (Output)

  1. บริษัทรับกำจัดของเสียสารเคมีเข้าดำเนินการจัดเก็บและส่งกำจัดของเสียสารเคมีทุกเดือน (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564)

  2. จำนวนส่วนงานที่เข้าร่วมโครงการ: 13 ส่วนงาน

  3. ปริมาณของเสียสารเคมีที่ส่งกำจัด: 264,264.52 กิโลกรัม


ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน (Outcome)

  มหาวิทยาลัยมหิดลมีระบบการบริหารจัดการของเสียสารเคมีซึ่งเป็นส่วนกลางของมหาวิทยาลัย โดยจัดจ้างบริษัทรีไซเคิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ในการขนส่ง และกำจัดของเสียสารเคมีภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งระบบบริหารจัดการของเสียสารเคมีของทางมหาวิทยาลัยสอดคล้องตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม และช่วยลดการปนเปื้อสารเคมีสู่สิ่งแวดล้อม สอดคล้องตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Ensure sustainable consumption and production patterns) ลดการปล่อยสารเคมีและของเสียเป็นพิษออกสู่ธรรมชาติและจัดการอย่างถูกต้อง