หลักสูตรความปลอดภัยทางชีวภาพ
และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
ที่มา
      โครงการอบรมหลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ” จัดขึ้นเพื่อให้ นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้ดำเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยตามหลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ทั้งนี้หลักสูตรความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ ที่จัดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ COSHEM มหาวิทยาลัยมหิดล นี้ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์
      >> เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
      >> เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยสอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
กลุ่มเป้าหมาย
      นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้ดำเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ และบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่สนใจ
รูปแบบการอบรม
      บรรยายและปฏิบัติ
ระยะเวลาการอบรม
      2 วัน (12 ชั่วโมง)
เนื้อหาการอบรม
      - กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity Laws and Regulations)
      - หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Principle of Biosafety and Biosecurity)
      - การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ (Biorisk management)
      - การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Practice)
      - อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal protective equipment: PPE)
      - การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Practice)
      - อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment)
      - การทำลายเชื้อโรค (Decontamination and Sterilization)
      - การขนส่งเชื้อโรค (Pathogen Transportation)
      - การจัดการขยะติดเชื้อ (Waste Management)
      - การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล (Biological Spill Management)
      - ฝึกปฏิบัติการออกแบบสถานที่การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ (Facility design Workshop)
      - ฝึกปฏิบัติการสวมใส่และการถอดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal protective equipment: PPE Workshop)
      - ฝึกปฏิบัติการจัดการสารชีวภาพรั่วไหล (Biological Spill Workshop)